สตช.-บชน.-CPN-กทม. ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือในโครงการ “Police Help Me ปุ่มนาทีชีวิต หรือ PUSH FOR LIFE” เพื่อเป็นอีก 1 ช่องทางในการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
วันนี้ (16 ธ.ค.) ที่บริเวณลานเอนกประสงค์ เซ็นทรัลเวิลด์สแควร์อี ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พลตำรวจเอก เรืองศักดิ์ จริตเอก รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจตรี ฉันทวิทย์ รามสูต รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ สิทธิชัย ท้วมสกนธ์ ผู้อำนวยการเขตปทุมวัน พร้อมด้วยปรีชา เอกคุณกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และ ปณิดา สุขศรีดากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามความร่วมมือใน “โครงการ Police Help Me ปุ่มนาทีชีวิต หรือ PUSH FOR LIFE” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางในการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม อันเป็นการสร้างความรู้สึกปลอดภัยและพึงพอใจให้กับประชาชน ด้วยการติดตั้งจุดแจ้งเหตุด่วน หรือ Call Point หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา และ เซ็นทรัลเฟสติวัล ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 8 สาขา และตั้งเป้าขยายขอบเขตการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกสาขาทั่วเขตพื้นที่
นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)หรือ ซีพีเอ็นกล่าวว่า“ซีพีเอ็น ในฐานะภาคส่วนเอกชน รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามความร่วมมือในโครงการ Police Help Me ปุ่มนาทีชีวิต หรือ PUSH FOR LIFE ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ,กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกรุงเทพมหานคร อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวกรุงเทพฯ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติซึ่งมาใช้บริการทั้งด้านในและด้านนอกซึ่งยังหมายรวมถึงผู้ที่สัญจรบริเวณใกล้เคียงศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา และ เซ็นทรัลเฟสติวัลโดยโครงการนี้ยังเป็นการเพิ่มช่องทางและเพิ่มศักยภาพในการดูแลรักษาความปลอดภัยร่วมกับภาครัฐอย่างเต็มรูปแบบและเป็นทางการเป็นครั้งแรกของศูนย์การค้าในเขตใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร เชื่อว่า ความมุ่งมั่นและตั้งใจของ ซีพีเอ็นจะสามารถทำให้ลูกค้า ประชาชนทั่วไป รวมถึงนักท่องเที่ยว เกิดความรู้สึกอุ่นใจและปลอดภัยเมื่อได้มาใช้บริการในศูนย์การค้าและพื้นที่โดยรอบ”
ด้าน นางปณิดา สุขศรีดากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็นเสริมว่า “ซีพีเอ็น ได้เข้าร่วมโครงการเพื่อติดตั้งจุดรับแจ้งเหตุด่วนหน้าศูนย์การค้ารวมจำนวนทั้งสิ้น 8 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ,เซ็นทรัลพลาซาปิ่นเกล้า ,เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9, เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2, เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3, เซ็นทรัลพลาซาบางนาและรามอินทรา และมีแผนในการขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกสาขาทั่วกรุงเทพฯในอนาคต โดยตลอดมาซีพีเอ็นได้มีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยทั้งภายในและโดยรอบศูนย์การค้าอย่างมีระบบมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วศูนย์การค้าและลานจอดรถ การตรวจบัตรผ่านเข้าออก รวมถึงมีการมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยครอบคลุมประจำอยู่ในทุกจุดทุกชั้นรวมถึงบริเวณด้านนอกศูนย์การค้า นอกจากนี้ยังมีระบบส่งสัญญาณเพื่อขอความช่วยเหลือในลานจอดรถในกรณีต่างๆ”
พลตำรวจเอก เรืองศักดิ์ จริตเอก รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า “โครงการนี้เป็นความตั้งใจของตำรวจในการช่วยอำนวยความสะดวกกับประชาชน ในการติดต่อสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีมีเหตุเร่งด่วน โดยมุ่งหวังให้โครงการนี้ เป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่สื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า จุดดังกล่าวเป็นจุดให้บริการเพื่อขอความช่วยเหลือเสมือนตำรวจคนหนึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ โดยทางตำรวจรู้สึกขอบคุณซีพีเอ็นที่เล็งเห็นความตั้งใจของทางตำรวจ และสนับสนุนโครงการดังกล่าว ทำให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ในวงกว้างเป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการภายใต้โครงการดังกล่าว โดยคาดว่าจะสามารถลดความรุนแรงของอาชญากรรมในบริเวณนั้น ๆ อ้างอิงจากผลสำรวจของคดีอาญาในพื้นที่ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติและสามารถช่วยให้ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งยังช่วยให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัยและเกิดความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกด้วย” .
พลตำรวจตรี ฉันทวิทย์ รามสูต รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยังได้กล่าวเสริมว่า “จุดแจ้งเหตุด่วนหรือ Call Point จะติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าในเขตพื้นที่ชุมนุมชนอย่างป้ายรถเมล์หรือทางเท้า และด้วยความสูงกว่า 3 เมตรของป้าย ประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือจะสามารถสังเกตเห็นป้ายได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีวิธีการทำงานที่ไม่ซับซ้อนโดยเมื่อผู้ประสบเหตุต้องการขอความช่วยเหลือ หรือต้องการแจ้งเหตุร้ายเพียงกดปุ่มสีแดงเพียงปุ่มเดียวระบบจะทำการส่งสัญญาณอัตโนมัติอย่างต่อเนื่องไปยังวิทยุสื่อสารของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้บริเวณและใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีเพื่อรอรับการช่วยเหลือจากตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุดโดยอุปกรณ์จะหยุดทำงานเมื่อตำรวจมายังจุดเกิดเหตุและทำการปิดระบบ อย่างไรก็ดีการกดปุ่มดังกล่าวโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีโทษทางอาญา”
ด้าน นางปณิดา สุขศรีดากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็นเสริมว่า “ซีพีเอ็น ได้เข้าร่วมโครงการเพื่อติดตั้งจุดรับแจ้งเหตุด่วนหน้าศูนย์การค้ารวมจำนวนทั้งสิ้น 8 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ,เซ็นทรัลพลาซาปิ่นเกล้า ,เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9, เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2, เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3, เซ็นทรัลพลาซาบางนาและรามอินทรา และมีแผนในการขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกสาขาทั่วกรุงเทพฯในอนาคต โดยตลอดมาซีพีเอ็นได้มีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยทั้งภายในและโดยรอบศูนย์การค้าอย่างมีระบบมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วศูนย์การค้าและลานจอดรถ การตรวจบัตรผ่านเข้าออก รวมถึงมีการมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยครอบคลุมประจำอยู่ในทุกจุดทุกชั้นรวมถึงบริเวณด้านนอกศูนย์การค้า นอกจากนี้ยังมีระบบส่งสัญญาณเพื่อขอความช่วยเหลือในลานจอดรถในกรณีต่างๆ”
พลตำรวจเอก เรืองศักดิ์ จริตเอก รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า “โครงการนี้เป็นความตั้งใจของตำรวจในการช่วยอำนวยความสะดวกกับประชาชน ในการติดต่อสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีมีเหตุเร่งด่วน โดยมุ่งหวังให้โครงการนี้ เป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่สื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า จุดดังกล่าวเป็นจุดให้บริการเพื่อขอความช่วยเหลือเสมือนตำรวจคนหนึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ โดยทางตำรวจรู้สึกขอบคุณซีพีเอ็นที่เล็งเห็นความตั้งใจของทางตำรวจ และสนับสนุนโครงการดังกล่าว ทำให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ในวงกว้างเป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการภายใต้โครงการดังกล่าว โดยคาดว่าจะสามารถลดความรุนแรงของอาชญากรรมในบริเวณนั้น ๆ อ้างอิงจากผลสำรวจของคดีอาญาในพื้นที่ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติและสามารถช่วยให้ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งยังช่วยให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัยและเกิดความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกด้วย” .
พลตำรวจตรี ฉันทวิทย์ รามสูต รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยังได้กล่าวเสริมว่า “จุดแจ้งเหตุด่วนหรือ Call Point จะติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าในเขตพื้นที่ชุมนุมชนอย่างป้ายรถเมล์หรือทางเท้า และด้วยความสูงกว่า 3 เมตรของป้าย ประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือจะสามารถสังเกตเห็นป้ายได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีวิธีการทำงานที่ไม่ซับซ้อนโดยเมื่อผู้ประสบเหตุต้องการขอความช่วยเหลือ หรือต้องการแจ้งเหตุร้ายเพียงกดปุ่มสีแดงเพียงปุ่มเดียวระบบจะทำการส่งสัญญาณอัตโนมัติอย่างต่อเนื่องไปยังวิทยุสื่อสารของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้บริเวณและใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีเพื่อรอรับการช่วยเหลือจากตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุดโดยอุปกรณ์จะหยุดทำงานเมื่อตำรวจมายังจุดเกิดเหตุและทำการปิดระบบ อย่างไรก็ดีการกดปุ่มดังกล่าวโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีโทษทางอาญา”
โครงการ Police Help Me ปุ่มนาทีชีวิต – PUSH FOR LIFE นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสาธารณะประโยชน์โดยตั้งเป้าการดำเนินการให้ครอบคลุมในศูนย์การค้าทุกสาขาภายใต้การบริหารงานของซีพีเอ็นในเขตกรุงเทพมหานครและหวังเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ทางสังคมเพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น