สรุปใจความสำคัญได้ดังนี้
- เวรฝากขังที่มายื่นตั้งแต่ 09.00 น. พบว่าผู้พิพากษาอ่านคำร้องช้า
ศาลจะมีหนังสือเวียนขอความร่วมมือผู้พิพากษาทุกท่านให้ช่วยอ่านให้เร็วขึ้น
- ให้ พงส.มามายื่นคำร้องฝากขังก่อน 12.00 น.
เพราะช่วงบ่ายผู้พิพากษาจะอ่านต่อหน้าผู้ต้องขังผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ หากมีกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน ขอให้ประสาน จนท.ศาลให้ทราบก่อนล่วงหน้า
1.ข้อบกพร่อง กรณีฝากขัง
1.1 วันที่ผิด
1.2 เวลาศาลสอบถาม ห้าม พงส.อ้างตนเองเป็นเวรฝากขัง ไม่ใช่เจ้าของคดี จะถือว่าละเมิดอำนาจศาล
1.3 ช่องที่ลงชื่อพนักงานสอบสวน ที่มีวงเล็บ คดีระหว่าง ให้ลงชื่อของผู้ยื่นคำร้อง ไม่ใช่ชื่อของ พงส.เจ้าของคดี
1.4 การระบุวันที่ให้ศาลอนุญาต ระหว่างวันที่เท่าไหร่ ถึงวันที่เท่าไหร่ นั้น นับให้ถูกต้อง เพราะศาลจะอนุญาตตามขอ แต่หากนับวันผิดก็จะทำให้หลุดฝากขังได้
1.5 เหตุที่ศาลจะอนุญาตฝากขังได้ มีเพียงเหตุเดียวคือ สอบสวนปากคำพยานอีกกี่ปาก ไม่ใช่รอผลการตรวจพิมพ์มือ หรือผลการตรวจพิสูจน์ของกลางแต่อย่างใด จึงให้ พงส.นับจำนวนฝากขังให้ดีว่าได้กี่ฝาก แล้วระบุจำนวนพยานลดลงครั้งละปาก ห้ามใช้คำว่า สอบสวนปากคำพยานเพิ่มเติมอีก...ปาก เพราะศาลถือว่าเป็นการสอบสวนปากคำพยานเก่าเพิ่มเติม ศาลจะขอดูเอกสารเพิ่มเติม และเป็นข้อต่อสู้ของทนาย
1.6 กรณีมีการควบคุมตัวก่อนส่งฝากขังยังศาลโดยใช้กฎหมายพิเศษ เช่น การใช้อำนาจ ป.ป.ส. เป็นต้น ให้ พงส.ลงรายละเอียดถึงความจำเป็นในการควบคุมตัวโดยอ้างว่าใช้กฎหมายพิเศษดังกล่าว หากศาลตรวจพบโดยไม่ได้อ้าง ถือว่าเป็นการควบคุมตัวเกิน 48 ชม. จะยกคำร้อง
1.7 กรณีผัดฟ้อง ซึ่งมีกำหนดครั้งละ 6 วัน แต่ต่อมาภายหลังได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติม แล้วอยู่ในอำนาจของศาลอาญา ห้ามยื่นคำร้องขอยกเลิกคำร้องผัดฟ้องเดิม เพราะจะทำให้อำนาจการสั่งขังของศาลสิ้นสุด ให้ยื่นคำร้องขอแก้โดยขอฝากขังต่อ โดยศาลจะนับจำนวนวันตาม วิ.อาญา
1.8 การฝากขังให้ดูจำนวนวันเป็นหลัก ไม่ใช่จำนวนครั้ง หากวันไม่ครบจะขอฝากขังครั้งที่เกินจากที่เคยปฏิบัติได้
1.9 การฝากขังครั้งที่ 1 กรณีจับตามหมายจับ ในคำร้องให้มีพฤติการณ์แห่งคดีมาด้วยว่า ผู้ต้องหาไปกระทำความผิดอะไร อย่างไร ทรัพย์สินอะไรเสียหายเท่าใด เพราะที่ศาลจะได้ใช้ดุลยพินิจในการสั่งและการปล่อยตัวชั่วคราวได้
1.10 การคัดค้านการประกันตัว จะต้องมีการแถลงให้ชัดเจน มีเอกสารพอสมควร
1.11 กรณีมีการนำตัวผู้ต้องหาไปควบคุมที่อื่นก่อนมาศาล โดยไม่มีกฎหมายพิเศษรองรับ ไม่ต้องบรรยายในคำร้องมาด้วย เพราะจะเกิน 48 ชม.
1.12 นรต.ฝึกงาน ไม่ใช่ พงส. ห้าม นรต.ฝึกงาน มายื่นคำร้องขอฝากขัง
2.ข้อบกพร่อง กรณีหมายจับ
2.1 หากมายื่นคำร้องหลังเวลาราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเที่ยงคืน ต้องเป็นกรณีเร่งด่วน เจอตัวแล้ว ได้ตัวแล้ว เป็นต้น
2.2 การรู้ตำหนิรูปพรรณผู้กระทำผิดก็สามารถขอหมายจับได้แล้ว ถึงแม้ว่าต่อมาภายหลังทราบชื่อ ไม่ต้องมายื่นคำร้องขอหมายจับใหม่แล้วยกเลิกหมายจับเดิม เพราะจะทำให้หมายจับดังกล่าวสิ้นไป ให้มายื่นคำร้องเพิ่มเติมหมายจับ พร้อมสำเนาทะเบียนราษฎร์ผู้ต้องหา
2.3 กรณีที่ได้ตัวมาแล้ว มายื่นคำร้องขอหมายจับ แต่ไม่ได้บรรยายคำร้องขอหมายจับตามรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นการเชิญตัวมาเพื่อขอหมายจับตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ต้องดูระยะเวลาการควบคุมตัวด้วยว่าสมเหตุสมผล ไม่ใช่ข้ามวันข้ามคืนมาแล้ว
2.4 การส่งหมายเรียกผู้ต้องหา ต้องตาม ป.วิอาญาเท่านั้น คือ ต้องส่งให้ญาติ พี่น้อง สามีภรรยา เท่านั้น คนอื่นห้าม
2.5 คำร้องขอหมายจับ ให้บรรยายข้อเท็จจริงให้มากๆ เพื่อศาลจะได้เห็นข้อเท็จจริง
2.6 อายุความมักจะผิด ให้ตรวจสอบด้วย
2.7 กรณีมีการจับตัวผู้ต้องหาตามหมายจับมาได้แล้ว ไม่ต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับ เพราะหมายจับย่อมสิ้นไปเมื่อมีการจับกุมตัวผู้ต้องหา ให้ยื่นคำร้องแจ้งการจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายจับ เพื่อให้ศาลแจ้งหน่วยงานที่ศาลได้ส่งหมายจับไปทราบ
2.8 คดีศาลแขวง การขอหมายจับโดยไม่มีหมายเรียกผู้ต้องหาและผลการส่งหมายเรียก จะถือว่าไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี ศาลจะยกคำร้อง
2.9 การส่งหมายเรียกผู้ต้องหา ให้เวลาแก่ผู้ต้องหาด้วย ควรสัก 1-2 สัปดาห์ นับแต่รับหมายเรียก
2.10 ในคำร้องให้บรรยายด้วยว่า ” ได้มีการส่งหมายเรียกผู้ต้องหาแล้ว ผู้ต้องหาไม่มาพบตามหมายเรียก เชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี “
2.11 ต้องมีเอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอหมายจับ เช่น คำให้การผู้กล่าวหา,พยาน, ภาพจากกล้องวงจรปิด ฯลฯ เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลยพินิจได้
2.12 คดีตาม พรบ.ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ให้มีสำเนาเช็คและใบคืนเช็ค พร้อมด้วยเอกสารแสดงมูลหนี้ เช่น สัญญากู้ยืม หรือเอกสารการซื้อขาย, หนังสือมอบอำนาจพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ถือเป็นสาระสำคัญ
2.13 กรณีผู้ต้องหามีหลายคนในคดีเดียวกัน คำร้องขอหมายจับให้มีชุดเดียว ไม่ต้องแยกกัน ส่วนหมายจับของใครของมัน
2.14 ในช่อง “เคยยื่นคำร้องขอหมายจับมาก่อนหรือไม่” หากมีการยื่นแล้วศาลยก แล้วมีการยื่นใหม่ ให้ระบุด้วย เพื่อศาลจะได้ตรวจสอบถึงสิ่งที่จะต้องให้ทำเพิ่มเติม หากศาลพบเองจะยกร้อง
3. ข้อบกพร่อง กรณีหมายค้น
3.1 การขอหมายค้น ควรทำแผนที่ ภาพถ่ายสถานที่ที่จะทำการตรวจค้น และควรมีความเห็นผู้บังคับบัญชาอนุมัติมาด้วย อย่างน้อยต้องระดับ ผกก., รอง ผกก. เพื่อป้องกันการตีเมืองขึ้นของผู้ใต้บังคับบัญชา
3.2 ควรมีหนังสือขออนุมัติ เห็นควรออกหมายค้น เสนอตามลำดับชั้น
3.3 การขอหมายค้นตอนกลางคืน ต้องเป็นผู้ร้ายสำคัญ และมีระดับชั้นผู้ค้นพอสมควร
3.4 ในหมายค้นควรต้องระบุด้วยว่า ใครเป็นผู้เข้าทำการตรวจค้นบ้าง
3.5 นักข่าวไม่ควรเข้าค้นด้วย เพราะในหมายคืนจะระบุเฉพาะเจ้าพนักงานของรัฐ ถ้าจะให้มีควรมีบัญชีผู้เข้าตรวจค้นแนบท้ายคำร้องด้วย
3.6 การมายื่นขอหมายค้น ให้แต่งกายในเครื่องแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปขอยื่นคำร้องที่บ้านของผู้พิพากษา
ควรเลี่ยงตรวจค้นเวลา 06.00 น. เพราะจะเสี่ยงในการตรวจค้นเวลากลางคืน ควรสัก 07.00 น.
4. ข้อบกพร่องในการเบิกความ
พบว่าเกิดข้อบกพร่องทำให้ศาลยกฟ้องจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดียาเสพติด ผู้จับกุมที่จะไปเบิกความที่ศาลควรเตรียมตัวเป็นอย่างดี เช่น
- สถานที่เกิดเหตุ ให้ชัดเจน
- การจับกุมผัว ก็ไม่ควรจับกุมเมียด้วย เพราะมีฎีกายกฟ้องมาแล้ว
- การจับกุมยาเสพติดที่พบอยู่ในรถ คนซ้อนหรือผู้โดยสารไม่ควรจับมาด้วย
- จับกุมในโรงแรมหรือบ้าน หากพบยาเสพติดอยู่ที่ใคร ให้จับกุมเฉพาะคนนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น